ประเภทวัด พระอารามหลวง
นิกาย มหานิกาย
ปีที่ตั้ง 2300
ปีที่รับวิสุงคามสีมา 2320
LatLng 13.721798, 100.479666
วัดเขตธนบุรี
ประเภทวัด พระอารามหลวง
นิกาย มหานิกาย
ปีที่ตั้ง 2300
ปีที่รับวิสุงคามสีมา 2320
LatLng 13.721798, 100.479666
ความเป็นมาของวัดราชคฤห์วรวิหารนามเดิม ชื่อวัดวังน้ำวน เพราะวัดตั้งอยู่ติดคลองน้ำ ๓ สาย คือ
๑. คลองบางกอกใหญ่ (อยู่ด้านทิศเหนือคือของวัด)
๒. คลองบางน้ำชน (อยู่ทิศตะวันตกของวัด)
๓. คลองท่าพระ (อยู่ด้านทิศพายัพของวัด)
มาจดชนติดกันเป็นเหมือนสี่แยก เวลานำทะเลหนุนขึ้น น้ำเค็มไหลทะลักเข้ามาตามคลองบางกอกใหญ่บ้าง ไหลทะลักเข้ามาทางคลองบางน้ำชนบ้าง ส่วนคลองบางกอกใหญ่ตามปกติน้ำจืดจะไหลมาตามคลองทางเขตภาษีเจริญ ก็ไหลมาชนกับน้ำเค็ม ตรงกันข้ามระหว่างคลองท่าพระน้ำจืดก็ไหลมาชนกับคลองบางกอกใหญ่ จึงทำให้น้ำที่ไหลมานั้นชนกัน ทำให้น้ำเกิดการหมุนเวียนเป็นวังวนขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่แถบนั้นว่าวังน้ำวน เมือชาวบ้านได้สร้างวัดขึ้นจึงเรียกวัดนั้นว่า "วัดวังน้ำวน" เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย โดยมีชาวมอญกลุ่มหนึ่งซึ่งได้อพยพม่าโดยทางเรือจากกาญจนบุรี เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่แทบริมคลองบางกอกใหญ่ และสถานที่แถบนี้เป็นชัยภูมิของทหารไทยได้ซุ่มยิงเรือข้าศึก จึงเรียกสถานที่นี้ว่า ตำบลบังยิงเรือ ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าบางยี่เรือ พอสงบศึกแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธาน เพื่อจะได้ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือ" แก้เป็นคำว่า "เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่แถบริมคลองบางกอกใหญ่ แล้วได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือกันที่วัด โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธานในการสร้างวัด
ต่อมา เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ตั้งค่ายรวมพลทหาร ณ สถานที่โพธิ์สามต้น เพื่อกู้ชาติ และเมื่อข้าศึกพม่ารู้ว่า ค่ายทหารพระเจ้าตากสินอยู่ที่โพธิ์สามต้น จึงได้ยกทัพเรือมาเพื่อรบตีทหารให้แตก พระเจ้าตากสินผู้รู้หลักตำราพิชัยสงคราม จึงรับสั่งให้ทหารหารมีพระยาพิชัยดาบหักเป็นต้น แบ่งทหารออกเป็นกองๆ เพื่อดักซุ่มโจมตีทหารพม่าที่มาตามคลองนำ โดยให้อยู่ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ริมข้างคลองนำทุกๆ สายที่มาทางโพธิ์สามต้น และพระยาพิชัยดาบหัก พาทหารหารมาดักซุ่มโจมตีที่วัดราชคฤห์ โดยยิงปืนใส่ทหารพม่าที่มาจอดเรืออยู่ที่วังนำวน จึงทำให้ทหารพม่าล้มตายบ้าง บางท่านก็ลบหนีไปได้ เมื่อกอบกู้ชาติได้แล้ว พระองค็จึงคิดบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ โดยรับสั่งมอบหมายให้พระยาพิชัยดาบหัก ทหารเอกราชองค์รักษ์ มาควบคุมดูแลบูรณปฏิสังขรณ์การก่อสร้างวัด ต่อมา เมื่อพระเจ้าตากสินสิ้นพระชนม์แล้ว โดยอาศัยสถานที่นี้เป็นที่ยิงเรือรบของข้าศึก และสถานที่แทบนี้เป็นชัยภูมิของทหารไทยได้ซุ่มยิงเรือข้าศึก จึงเรียกสถานที่นี้ว่า วัดบังยิงเรือ พอสงบศึกแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธาน เพื่อจะได้ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือ ต่อมาเนื่องจากมีวัดอยู่ใกล้กัน ๓ วัด จึงเรียกชื่อตามตำบล วัดนี้ตั้งอยู่ทางเหนือน้ำไหลจึงเรียกว่า วัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์) วัดบางยี่เรือกลาง (วัดจันทาราม) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) แต่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า “วัดมอญ” สัณนิฐานว่าคนมอญช่วยกันสร้างและพระมอญอยู่จำพรรษาประจำอยู่วัดนี้มาก จึงเรียกชื่อว่าวัดมอญต่อมา สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้กู้ชาติไทยได้เสร็จแล้ว จึงได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ ให้เป็นราชธานี สถาปนา ชื่อว่า "กรุงธนบุรี" และได้ขึ้นครองราชย์ จากนั้น พระองค์พร้อมด้วยทหารคู่ใจ คือพระยาสีหราชเดโช (พระยาพิชัยดาบหัก) ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางยี่เรือเหนือ มีสร้างพระอุโบสถสร้างพระปรางค์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ อยู่ทั้ง ๔ ด้านของพระอุโบสถ สร้างพระเจดีย์ บรรจุพระบรมธาตุที่นำมาจากกรุงราชคฤห์แห่งประเทศอินเดียสร้างพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง และสร้างภูเขาจำลอง (ภูเขามอ) พร้อมทั้งสถูปนำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ เพื่อให้เป็นทีสักการบูชาแก่พุทธศาสนิกชนสืบมา ต่อมา พระเจ้าตากสินมหาราชได้สวรรคต ส่วนพระยาสีหราชเดโช ได้สิ้นชีวิตลงตามพระเจ้าตากสิน ได้นำเอาศพบรรจุไว้ที่วัดบางยี่เรือ