ประเภทวัด พระอารามหลวง
นิกาย มหานิกาย
ปีที่ตั้ง 2389
ปีที่รับวิสุงคามสีมา 2389
LatLng 13.725190, 100.486169
วัดเขตธนบุรี
ประเภทวัด พระอารามหลวง
นิกาย มหานิกาย
ปีที่ตั้ง 2389
ปีที่รับวิสุงคามสีมา 2389
LatLng 13.725190, 100.486169
เจ้าพระยาพลเทพ (เอี่ยม ชูโต) เป็นผู้สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนปลายรัชกาลที่ ๓โดยนำเงิน ค่าภาษีไม้ไผ่สีสุกที่ท่านเป็นเจ้าภาษีรับสัมปทานผูกขาดการเก็บอยู่มาใช้เป็นค่าสร้างวัด เมื่อแรกสร้างเรียกชื่อวัดตามสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งวัดที่เป็นคุ้งน้ำใหญ่ในคลองบางกอกใหญ่ว่า “วัดใหม่ท้องคุ้ง” สร้างเสร็จบริบูรณ์ในต้นรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาพลเทพจึงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเวฬุราชิน” ตามปฐมเหตุของการสร้างวัด แปลความหมายได้ว่าวัดซึ่งเกิดจากหนี้ภาษีไม้ไผ่ของพระราชาต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ พระยาพิศาลศุภผล (ชื่น พิศาลบุตร) และขุนตาลวโนชากร (นิ่ม แสนวัต)ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งหมด เป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เท่ากับเป็นการสร้างวัดใหม่ ต่อมาพระไพโรจน์ธรรมาภรณ์เป็นเจ้าอาวาสได้บูรณะวัดให้อยู่ในสภาพที่งดงามเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนทั่วไปพ่อท่านคล้ายรับนิมนต์ไปในงานสร้างวิหารคล้ายนิมิตร ณ วัดเวฬุราชิณ ธนบุรี โดยวิหารคล้ายนิมิตรปัจจุบันได้ถูกรื้อไปแล้ว และได้สร้างวิหารพระนอนขึ้นมาแทน ชาวบ้านละแวกวัดเล่าว่าตอนนั้นเมื่อพ่อท่านคล้ายมาถึงวัดเวฬุราชิณ ได้มีคนมาทำบุญที่วัดเยอะมาก ทุกคนต่างอยากได้พระเครื่องและวัตถุมงคลจากพ่อท่าน แย่งกันจนประตูพัง ใครทำบุญกี่บาทก็ตามแต่ พ่อท่านก็จะหยิบพระเครื่องในย่ามให้เป็นจำนวนมาก ๑ กำมือบ้าง ๒ กำมือก็มี ในวาระนี้ได้มีการสร้างผ้ายันต์และเหรียญหลวงพ่อบุศย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุราชิณ