WATTHAI

วัดเขตธนบุรี

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร



   ประเภทวัด   พระอารามหลวง
   นิกาย   มหานิกาย
   ปีที่ตั้ง   2371
   ปีที่รับวิสุงคามสีมา   2378
   LatLng   13.737324,   100.495369

ประวัติวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร


   วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง ว่าที่กรมท่า และสมุหพระกลาโหม ได้อุทิศสวนกาแฟสร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 ซึ่งมีอาณาเขตติดกับบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2375 ได้ถวายเป็น พระอารามหลวงในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า ["วัดประยุรวงศาวาส"][1] ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดรั้วเหล็ก" เพราะมีรั้วเหล็กเป็นกำแพงวัดอยู่เป็นบางตอน รั้วเหล็กนี้สูงประมาณ 3 ศอกเศษ ทำเป็นรูปอาวุธคือ หอก ดาบ และขวาน (ขวานสามหมื่น ปืนสามกระบอก หอกสามแสน) มีลักษณะเป็นกำแพงและซุ้มประตูเล็กๆ เป็นตอนๆ วัดจากมุมวิหารคตข้างพระอุโบสถไปจรดกำแพงประตูวัดด้านตะวันออกยาว 148 เมตร ล้อมบริเวณอุทยานเขามอ (เขาเต่า)อีก 2 ด้านด้านตะวันตกยาว 48 เมตร ด้านใต้ยาว 43 เมตรล้อมเป็นกำแพงหน้าวัด ตอนขวามือเข้ามายาว 40 เมตร ตอนซ้ายมือเข้ามายาว 20 เมตร

   มีเรื่องเล่าว่า รั้วเหล็กนี้เดิมสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์สั่งเข้ามาจากประเทศอังกฤษเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ล้อมเป็นกำแพงในพระราชวัง แต่พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรด สมเด็จเจ้าพระยาจึงขอรับพระราชทานมาใช้ล้อมเป็นกำแพงในวัด โดยใช้น้ำตาลทรายแลกเอา หนักต่อหนัก คือเหล็กหนักเท่าใด น้ำตาลทรายก็หนักเท่านั้น ในคราวเดียวกันนั้นยังทูลเกล้าฯ ถวายพรมผืนใหญ่ 1 ผืน กับโคมกิ่งแก้ว 3 โคม ซึ่งไม่ทรงโปรด จึงได้ทูลขอ พระราชทานโคมไปประดับในพระอุโบสถวัดนี้ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในฐานะเป็น อัครราชทูตพิเศษเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาใน พ.ศ. 2423 เมื่อกลับถึงเมืองไทยในปีเดียวกันได้เล่าว่า ตนพบรั้วเหล็กล้อมเป็นกำแพงเมืองหลายแห่งในกรุงลอนดอนรั้วเหล็กเหล่านั้นมีรูปลักษณะเช่นเดียวกับรั้วเหล็กที่วัดประยุรวงศาวาสหน้าบัน ลายดอกบุนนาค พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมไทย|สถาปัตยกรรมทรงไทย หน้าบันเป็นลายดอกบุนนาค ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ส่วนพระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยเช่นกัน ในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธนาค (หลวงพ่อนาค) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย อายุกว่า 700 ปีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ยังได้สร้างพระบรมธาตุมหาเจดีย์ทรงกลมองค์ใหญ่ ถือว่าเป็นเจดีย์แบบลังกาองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2398 ต่อมา พ.ศ. 2425 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ได้ให้ซ่อม พระวิหาร เปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา ปิดทองประดับกระจกใหม่ ซ่อมศาลาและพระอุโบสถใหม่ ซึ่งในปีถัดมาพระองคฺได้เสด็จมาพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ พระอุโบสถวัดประยุรวงศานี้

   การสร้างวัดได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2371 สร้างอยู่ 8 ปี จึงสำเร็จในปี พ.ศ. 2379 ได้มีการฉลองวัดในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2379 ตรงกับวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 7 ค่ำ ดังหลักฐานที่ปรากฏในพงศาวดารรัชกาลที่ 3 ว่า"ครั้นลุถึงศักราช 1198 ปีวอก อัฐศก เป็นปีที่ 13 ครั้นมาถึงวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 7 ค่ำ เจ้าพระยาพระคลังมีการฉลองวัดประยุรวงศาวาส พระสงฆ์ในวัดได้ปืนเปรียมกระสุน 5 นิ้วชำรุดหูพะเนียงทิ้งอยู่ในวัดบอก1 เอาทำไฟพะเนียงจุด...." ในเรื่องนี้ หมอบรัดเลย์ มิชชันนารี ชาวอเมริกาได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า "วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2379 วันนี้มีการฉลองวัดอันงดงามของสมเด็จองค์ใหญ่บิดาของท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินมีการมหรสพมากมายหลายอย่าง ประชาชนมาประชุมกันมากมาย หลายพัน ทั้งชาวพระนครและสัญจรมาจากที่ต่างๆ ของประเทศ..." หมอบรัดเลบันทึกไว้ว่าในงานฉลองวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารนั้น ได้มีการทำไฟพะเนียงด้วยปืนใหญ่ โดยฝังโคนกระบอกปืนใหญ่ลงในแผ่นดินเมื่อจุดชนวนขึ้น ปืนใหญ่เกิดระเบิดแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายหลายคน หมอบรัดเลอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 250 เมตร เจ้าพระยาพระคลังดิศให้คนตามตัวหมอบรัดเลย์ไปรักษาผู้บาดเจ็บพระรูปหนึ่งกระดูกแขนแตก หมอบรัดเล จำต้องตัดแขนของพระรูปนั้น การผ่าตัดประสบผลสำเร็จ บาดแผลหายสนิทในเวลาไม่นานนัก นับได้ว่าเป็นการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทยเกิดขึ้นที่วัดประยุรวงศาวาสในวันฉลองวัดนั่นเอง

   ภายหลังจากการระเบิดครั้งนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ให้สร้างอนุสาวรีย์เป็นปืนใหญ่ 3 กระบอกไว้ในบริเวณอุทยานเขามอ (เขาเต่า) เพื่อเป็นการไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิต อนุสาวรีย์ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ข้อความจารึกที่อนุสาวรีย์เป็นดังนี้

   "อนุสาวรีย์นี้ได้สร้างขึ้นเมื่อปีวอก อัฐศก ศักราช 1198 (พ.ศ. 2379) ให้เป็นที่ระฦกแห่งปืนใหญ่ระเบิดให้เป็นที่เสียชีวิตหลายในเวลามีงานมหกรรมการฉลองพระอารามนี้..."ต่อมาพ.ศ. 2428 เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ได้ซ่อมกำแพงแก้วและซุ้มสีมา สร้างศาลาใหญ่ 1 หลัง พร้อมกับบูรณะส่วนที่ทรุดโทรมไป นอกจากนี้ได้สร้างโรงเรียนหนังสือไทยที่ข้างพระเจดีย์ใหญ่ ชื่อว่า โรงเรียนไทยประยุรวงศ์ และโรงเรียนพระปริยัตติธรรม อุทิศแด่ท่านลูกอินผู้มารดาและสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ผู้บิดา ให้ชื่อนามศาลาว่า "พรินปริยัติธรรมศาลา" (และยังเป็นหอสมุดประชาชนแห่งแรกอีกด้วย) ได้ประพันธ์เป็นบทโคลงจารึกในแผ่นศิลา 2 ข้างประตู ในครั้งนี้จมื่นทิพรักษา (พิณเทพเฉลิม บุนนาค) ได้สมทบเงินออกค่าศิลาปูพื้นด้วยพ.ศ. 2436 ได้สร้างตึกอีกหลังหนึ่งใช้เป็นกุฏิหรือโรงเรียน จารึกนามว่า "ท้าวราชกิจวรภัตร ร.ศ. 112" อยู่ริมคลองด้านหลังวัด (ท้าวราชกิจวรภัตรศรีสวัสดิ์สมาหาร (แพ บุนนาค) เป็นพี่สาวของพระยาอภัยสงคราม (นกยูง บุนนาค) ต่อมาได้มีการสร้างถาวรวัตถุเพิ่มขึ้น และปฏิสังขรณ์โดยเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) พระยาอุทัยธรรมมนตรี (จีน บุนนาค) เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) เจ้าจอมเลียม เจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ 5 และอีกหลายท่าน

เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร


 พระธรรมโกศาจารย์
 ศาสตราจารย์ ดร.พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ป.ธ.9
 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
 เจ้าคณะภาค 2
 คณะเลขานุการของคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุ


 พระอุโบสถ
 วิหารพระพุทธนาคศักดิ์สิทธิ์
 พระบรมธาตุมหาเจดีย์
 อุทยานเขามอ (เขาเต่า)
 เจดีย์ท่านขรัวแก้ว
 พรินทรปริยัติธรรมศาลา พิพิธภัณฑ์พระ ประยูรภัณฑาคาร

อาณาเขตวัด


 วัดประยุรวงศาวาส มีเนื้อที่ 27 ไร่ ลักษณะพื้นที่ราบเรียบสี่เหลี่ยม มีอาณาเขตอุปจารดังนี้
 1.ทิศตะวันออก มีอาณาเขตจรดถนนประชาธิปก
 2.ทิศตะวันตก มีอาณาเขตจรดคลองสาธารณะ
 3.ทิศเหนือ มีอาณาเขตจรดถนนเทศบาลสาย 1
 4.ทิศใต้ มีอาณาเขตจรดถนนเทศบาลสาย 2 และโรงเรียนศึกษานารี
ที่ธรณีสงฆ์
   วัดประยุรวงศาวาส มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 344 ตารางวา ในด้านตะวันออกติดกับถนนประชาธิปกได้สร้างเป็นตึกแถว 30 หลัง ในด้านตะวันตกได้แบ่งให้ประชาชนเช่าอยู่อาศัย

ข้อมูลทั่วไป


 ชื่อ : วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
 ที่อยู่ : ถนน ประชาธิปก แขวง/ตำบล วัดกัลยาณ์ เขต/อำเภอ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
 เบอร์โทร : 024655592

MAP


Start:
End:

Free Web Hosting